UPS ไหม้ เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง


จากที่แชร์ๆ กันเมื่อเช้า เรื่องข่าว UPS ไหม้
เพื่อนๆ ผมก็มาถามกัน ว่าเกิดขึ้นได้ไง เขียนบทความเลยดีกว่า ๕๕๕

UPS ทุกตัวในบทความนี้ไม่ได้ผิดอะไร แค่ถ่ายมาทำภาพประกอบเฉยๆ

ปลั๊กหลวม
ที่ผมเจอมาบ่อยสุดก็ปลั๊กนี่แหละ หลวม ไม่ได้คุณภาพ แล้วมันก็อาร์ค เกิดความร้อน
เรียบร้อยยยยย ไหม้สิครับ อาการคล้ายๆ กับปลั๊กพ่วง ที่หลวมแล้วไหม้กันนั่นแหละ

ขั้วต่อภายในเครื่องหลวม
ขั้วต่อแบตเตอรี่ ขั้วต่อเชื่อมระหว่างวงจร เชื่อมเข้ากับหม้อแปลง เวลาหลวมก็จะเกิดความร้อน
เหมือนกับปลั๊กไฟหลังเครื่อง ไหม้ได้เหมือนกัน

อุปกรณ์ภายในเสื่อมสภาพ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ต้องมีการเสื่อมสภาพ พังไปตามเวลา
ยิ่งเครื่องสำรองไฟนี่ข้างในเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กำลังสูงๆ ทั้งนั้น ก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น
ถ้ามันพังแบบเงียบๆ ก็ดีไป แต่ถ้ามันพังแบบโวยวาย ช็อต ระเบิด ไหม้ ก็สลายทั้งเครื่องไปจ้า
No photo description available.
รูปภาพจาก PolarTheLionStudio

แบตเตอรี่เสื่อม ชาร์จเกิน
อันนี้เจอมากับตัวเอง คือแบตเตอรี่เสื่อมแล้วไม่ยอมเปลี่ยน เครื่องก็มองเห็นว่าแบตเตอรี่ไม่เต็ม
ชาร์จเข้าไปเรื่อยๆ จนแบตเตอรี่ร้อนมาก แต่ก็ยังไม่เคยเจอถึงขั้นไหม้ทั้งเครื่อง

ต่อโหลดเกิน
ข้อนี้ผมว่าเกิดขึ้นได้น้อย เพราะว่าตัวเครื่องเอง ส่วนใหญ่ก็จะมีแจ้งโหลดเกินอยู่แล้ว 
มีเสียงร้อง มีไฟขึ้น มีจอบอกบ้าง บางตัวก็ตัดไฟไปเลย
แต่ก็มีโอกาสที่ระบบมันจะผิดพลาดได้เหมือนกัน
ยกเว้นมันเตือนแล้ว แต่ไม่สนใจ หรือไปกดปิดเสียงมันนี่แหละ (อันนี้ควรโทษคนใช้มากกว่านะ)

ส่วนอันนี้เป็นคำถามจากกรณีที่มันไหม้ แล้วทำไม....

ทำไมคัทเอาท์ไม่ตัด
ผมมองว่า UPS คือเพาเวอร์แบงค์อันโตๆ อันนึงนี่แหละ มีแบตเตอรี่ มีวงจรชาร์จ วงจรแปลงไฟ
ดังนั้น ถ้าวงจรพวกนี้มันผิดพลาด เกิดลัดวงจรขึ้นมา ก็มีโอกาที่จะดึงไฟจากแบตเตอรี่ในตัว โดยที่ไม่ไปดึงไฟจากปลั๊กไฟ คัทเอาท์ก็เลยเห็นว่า ปกตินิ ไม่มีลัดวงจรอะไร ก็เลยไม่ตัด

ทำไมฟิวส์แบตเตอรี่ในเครื่องไม่ขาด
ถ้ามีการลัดวงจรที่เกินพิกัดฟิวส์ อันนั้นน่าจะขาดอยู่แล้ว แต่จะมีอีกกรณีนึง คือลดวงจรแต่ไม่หนักมาก กระแสไหลมากกว่าใช้ปกติแหละ แต่ไม่มากเกินพิกัดของฟิวส์ มันเลยไม่ขาด สะสมความร้อนไปเรื่อยๆ แล้วก็ไหม้ในที่สุด

สรุป
สุดท้ายจากคนที่ใช้ UPS มาตลอด เครื่องแพงๆ พังต่อหน้ามาก็เจอมาเหมือนกัน แนะนำว่าให้ตรวจเช็คสภาพเครื่องอยู่ตลอด ครึ่งเดือนครั้งนึง เดือนนึงครั้งนึงก็ได้ อย่างน้อยก็กดปุ่มเทสหน้าเครื่อง ว่ามันผ่านไหม แล้วถ้าทดสอบไม่ผ่านก็รีบแก้ไข อย่าปล่อยทิ้งไว้ กดปิดเสียงแล้วช่างมันแบบนี้ไม่ควร

ที่เขียนในบทความนี้ เป็นการวิเคราห์สาเหตโดยผมเองนะครับ อาจจะผิดพลาดไปก็ต้องขออภัย
หรือใครอยากแนะนำอะไรเพิ่มเติมก็ยินดีเลยครับ แลกเปลี่ยนความรู้กัน

Comments

Popular posts from this blog

5 เหตผลที่ไม่แนะนำให้ซื้อเครื่อง Xeon มือสอง ในปี 2020

รีวิวบอร์ด Relay 8 ช่อง มี ESP8266 และ Step Down ในตัว