บันทึก AVID S6L Workshop
เมื่อวันพุธผมได้ไปงาน Workshop ของ AVID S6L มา เลยมาเขียนให้อ่านกันหน่อย ในมุมของคนที่ชอบทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องเสียง
ครั้งแรกที่ได้จับระบบของ AVID เป็นอะไรที่แปลกใหม่สำหรับผมมาก
ระบบนี้ประกอบด้วยของ 3 ชิ้นหลักๆ
Control Surface - หรือหน้ามิกเซอร์ที่คุ้นเคยกัน
Engine - หัวใจหลักของระบบ มีหน้าที่ประมวลผลเสียง
I/O - อุปกรณ์อินพุตเอาท์พุต ก็ตามชื่อมันเลย
ซ้าย Control Surface กลาง Engine ขวา I/O
RTX Engine เป็นคอมพิวเตอร์สเปคเทพอยู่ข้างใน
แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ NVIDIA RTX นะ
Control Surface
มี 5 รุ่น ให้เลือกตั้งแต่ตัวเล็กสุด S6L-16C ยันตัวใหญ่สุดที่เพิ่งออกมาใหม่ S6L-48D
ตัวเล็กกับตัวใหญ่ หลักๆต่างกันตรงที่จำนวณโมดูลเฟดเดอร์ โมดูลจอ ยกเว้นตัวเล็กสุดจะไม่มีจอเลย
ที่เรียกว่าโมดูลเพราะว่า มันสามารถถอดออกมาเป็นโมดูลได้เลย อย่างเฟดเดอร์ 8 ตัวก็คือ 1 โมดูล คือเวลามีปัญหาอะไรก็ยกโมดูลสลับย้ายเครื่องกันได้เลย
ที่เอามาโชว์ในงานนี้เป็น S6L-32D
ของ Onesystems เองเครื่องนึง และของ Media Vision อีกสองเครื่อง
กับ S6L-24C
อันนี้เป็นส่วนหลักของเขา อารมณ์เหมือนขับเครื่องบินยังไงไม่รู้
ไว้เลือกแชนแนล สั่งฟังก์ชั่นต่างๆ แล้วก็พวกมอนิเตอร์
จะเห็นว่ามีปุ่ม Play Stop ทั้งหลายด้วย มันสามารถเชื่อมต่อ ควบคุม Pro Tools ผ่านตรงนี้ได้เลย
อ่อ เจ้าตัว S6L นี่มีมอนิเตอร์ออกได้สองชุดนะ ทำงานสองคนไม่ต้องแย่งหูฟังกันใช้ ๕๕
เจ้าตัวเล็กสุดที่ไม่มีจอ ก็ไม่ต้องสงสัยว่าจะใช้ยังไง เพราะว่า S6L ทุกรุ่น จะมีสิ่งที่เรียกว่า External Monitor อยู่ เป็นทัชสกรีนกดๆ จิ้มๆ เอาได้เลย หรือจะใช้เมาส์คีย์บอร์ดมาต่อก็ได้
ปกติหลังมิกเซอร์เราจะคุ้นเคยกับสายเยอะๆ ช่องอะไรเต็มไปหมด แต่เจ้า S6L นี่มี Input กับ Output แค่อย่างละแปดช่อง (ตัวเล็กสุด S6L-16C มีแค่ 1 Input 2 Output) เพราะว่าเขาออกแบบให้ไปต่อสัญญาณเข้าออกกับตัว I/O เป็นหลักนั่นเอง
ระหว่างตัว Surface กับตัว I/O และ Engine ก็เชื่อมต่อกันผ่านสาย Ethernet หรือสายแลนที่เราเอาไว้ต่อคอมเล่นเน็ตนี่แหละ แต่ถ้าอยากจะเดินไกลๆ เป็นหลักกิโลเมตร ก็เปลี่ยนไปใช้สายไฟเบอร์ได้เหมือนกัน
อันนี้เป็นหน้าอินพุต ทั้งหมดนี่คือผ่านสายแลนแค่เส้นเดียว!!
และที่ผมบอกว่ามันเชื่อมต่อกับ Pro Tools นั้น มันเชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบเลย เวลาเขียนชื่อแชนแนล หรือปรับแต่ง แพตช์อะไรใหม่ ในโปรแกรมก็จะเปลี่ยนตามเลย โดยทั้งหมดนี้ ไม่ต้องต่อสายอะไรให้ยุ่งยาก แค่สายแลนเข้าไปเสียบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เส้นเดียวก็พอแล้ว อัดได้ 128 แชนแชล
มาที่ Engine กันบ้าง
สิ่งนี่คือหัวใจของระบบเลย เพราะเสียงทั้งหมดจะถูกประมวลผลผ่านเครื่องนี้
มีให้เลือก 3 รุ่น ตามจำนวนช่องสัญญาณที่ประมวลผลได้
แล้วมันเป็นคอมพิวเตอร์สเปคเทพ เทพจริงๆ
E6L-192 ได้ 192 อินพุต ใช้ซีพียู Intel Xeon 2 ตัว
E6L-144 ได้ 144 อินพุต ใช้ซีพียู Intel Xeon 2 ตัว
E6L-112 ได้ 112 อินพุต ใช้ซีพียู Intel Xeon 1 ตัว
แต่เสียดาย เขาไม่ได้บอกว่าเป็นรหัสอะไร รู้แค่ว่าเป็น Haswell
อันที่มันมีปุ่มขึ้นลง (โลโก้เขาเห้ย) หน้าตาเหมือนเคสเกมเมอร์ อันนั้นแหละ
นี่คือหน้าแสดงสถานะของ Engine ที่กดดูผ่าน External Monitor
มันคือคอมพิวเตอร์ดีๆ เครื่องนึงเลย ไฟเลี้ยง อุณหภูมิ รอบพัดลมมาครบ
ไม่มี Engine ก็ทำอะไรไม่ได้นะฮะ
ส่วน RTX Engine ที่อยู่ในสไลด์นั้น มันคือ Real Time Operating System ที่รันอยู่บน Microsoft Windows อีกที หน้าที่ของมันก็ตามชื่อเลย คือใช้ในการประมวลผลแบบ "Real Time"
ในระบบของ S6L ทำงานที่ Sampling Rate 96 KHz
ข้อมูลเพิ่มเติมกดไป >> RTX64
ด้านหลังของตัว Engine ก็มีแต่พอร์ทแลนกับไฟเบอร์ เพราะมันเชื่อมต่อผ่านทางนี้หมด
เพาเวอร์ซัพพลายของ Engine มีสองตัว สำรองกันบึ้ม แต่ถ้ามันจะพังจริงๆ ทั้งสองตัว ก็ไปถอดจาก Control Surface มาเปลี่ยนแทนได้ เพราะใช้รุ่นเดียวกัน
มีคนแอบชาร์จมือถือ!!
ถ้าคุณเป็นสายปลั๊กอิน และโปรแกรมทำเพลงทั้งหลาย ก็น่าจะคุ้นเคยกับ Waves เป็นอย่างดี
เจ้ามิกเซอร์ชุดนี้ก็สามารถนำปลั๊กอินของ Waves มาใช้แบบสดๆได้ด้วย โดยใช้ระบบ SoundGrid
ตัว SoundGrid นี้ ประกอบด้วยสามอย่าง
อย่างแรก การ์ดที่ใส่อยู่ใน Engine เอาไว้ต่อเข้ากับตัว SoundGrid Server
SoundGrid Server มีหน้าที่ประมวลผลปลั๊กอินแบบสดๆ
ข้างในตัวมันก็เป็นคอมพิวเตอร์เหมือนกัน
สเปคก็ Core i7 Gen 6 กับแรม 8GB
เพาเวอร์ซัพพลายคุ้นๆ ไหมหละ
ส่วนสุดท้ายคือ Software และ Plugins ทั้งหลาย ของ Waves ซื้อเอาตามที่อยากได้เลย หรือที่เคยซื้อไว้ใช้ในคอมพิวเตอร์ ก็สามารถย้ายมาใส่ในนี้ได้เหมือนกัน
สุดท้ายกับ I/O
หน้าที่ของมันคือเอาไว้เสียบสัญญาณเข้าออก มีสี่รุ่น
ตัวใหญ่สุดคือ Stage 64 มี 64 Input
เล็กลงมา Stage 32 ก็มี 32 Input
เล็กลงมาอีกก็ Stage 16 มี.... 16 Input
ส่วนตัวเล็กสุดก็ Local 16 มี....
8 Input 8 Output นะจ๊ะ ไม่ใช่ 16 Input แล้ว
เอาไว้เสียบเป็น Local I/O อยู่กับตัว Surface
หรือเอาไปเสียบให้ S6L-16C มีอินพุตเอาท์พุตข้างหลังเหมือนรุ่นพี่บ้าง
เดินเสียงไปตามสายแลน(หรือไฟเบอร์) เหมือนเดิม
ที่หน้าตัวมัน แต่ละแชนแนลก็จะมีไฟบอกสัญญาณเข้าเรียบร้อย
และก็มีช่องหูฟังให้เสียบกับจอให้เลือกมอนิเตอร์สัญญาณเข้าจากตรงนี้ได้เลย
เดี๋ยวต้องไปหาสายไมค์สีแดงมาใช้บ้างหละ
ด้านหลังไม่มีอะไร แค่ช่องเสียบไฟเหงาๆ
อุปกรณ์ระดับนี้ ต้องมี UPS ดีๆ ด้วย
คอมที่เราใช้ก็เช่นกัน เดี๋ยวมาเขียนบ่นวันหลัง
จัดเป็นชุดให้ดูน่ารัก
แต่ราคาไม่น่ารักสักเท่าใหร่ แค่ Surface ตัวเล็กก็ล้านนิดๆ แล้ว
อุปกรณ์ในตระกูลนี้สามารถเชื่อมกันได้หมด
จะเอา S6L-16C ตัวเล็กสุด ไปใช้กับ E6L-192 และ Stage 64 ก็ได้
ระบบของเขาวิ่งผ่านโปรโตคอลที่เรียกว่า AVB (Audio Video Bridging)
ส่วนการต่อสาย ต่อเป็นวงแบบ Ring ก็คือ I/O > Engine > Control Surface>วนกลับไป I/O
ถ้าอยากเพิ่มอะไรก็แทรกลงไประหว่างวง อุปกรณ์หัวกับท้ายต้องต่อถึงกัน
อันนี้เป็นชุดที่เอามาโชว์ เล็กสุดในงาน S6L-24C กับ Stage 64
ใหญ่ขึ้นมาหน่อย เป็น S6L-32D กับ Stage 64 เหมือนเดิม
อันนี้ใหญ่สุด เป็น S6L-32D กับ Stage 64 สองเครื่อง และ SoundGrid Server อีกสองเครื่อง
คนก็ตัวใหญ่ ๕๕๕
Made in Thailand ด้วยนะ
เขียนอะไรผิดพลาดไป แนะนำเข้ามาได้เลยนะครับ เป็นครั้งแรกที่ได้สัมผัส ตื่นเต้นมาก
และก็ขอบคุณพี่ๆ ทุกท่านในงาน ที่มาบรรยายมาช่วยสอน ได้ความรู้ใหม่เยอะมาก
ตอนหลังได้ลองกับมัลติแทรค เกร็งอยู่เหมือนกัน
Comments
Post a Comment